รับจดทะเบียน ตั้ง แก้ไข เปลี่ยนแปลง บริษัทฯ ห้าง
1. จดทะเบียนบริษัท ตั้ง เปลี่ยนแปลงทุกชนิด กรรมการเข้า -ออก ย้ายสถานที่ เลิกบริษัท เลิกห้างฯ
2. ทางด้าน ทะเบียน ประกันสังคม ยื่นจด คนเข้า - ออก
3. จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร ฯ
4. ทำเรื่อง ขอ อย.
5. แจ้ง ขออนุญาต ทำงานสำหรับ คนต่างด้าว
6. จดทะเบียน สมาคม มูลนิธิฯ
ดูราคาค่าจดทะเบียน คลิ๊ก
สำนักงานยินดีให้บริการจดทะเบียนธุรกิจทุกประเภท พร้อมบริการรับส่งเอกสาร เซ็นต์ชื่อถึงที่ และเงื่อนไขการบริการแบบมืออาชีพและทำงานด้วยใจ
นี่คือตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทและเอกสารที่ต้องจัดเตรียม
ข้อมูลที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนบริษัทจำกัดนั้น ผู้ขอจดทะเบียนต้องเตรียมข้อมูลดังต่อไปนี้ เพื่อกรอกในคำขอและเอกสารประกอบการจดทะเบียน คือ
- ข้อบังคับ (ถ้ามี)
- จำนวนทุน (ค่าหุ้น) ที่ชำระแล้ว
- ชื่อ ที่อยู่ อายุของกรรมการบริษัท
- รายชื่อกรรมการที่มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท
- ชื่อ เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีบริษัทและค่าจ้าง
- ชื่อ ที่อยู่ สัญชาติ จำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละคน
- ดวงตราสำคัญของบริษัท
การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน
การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัท กรรมการทุกคนจะต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง โดยเฉพาะกรรมการผู้ขอจดทะเบียนจะต้องลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียน พร้อมแสดงบัตรประจำตัวหรือลงลายมือชื่อต่อหน้าพนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ในท้องถิ่น ที่ผู้ลงลายมือชื่อมีภูมิลำเนา หรือสามัญสมาชิกหรือสมาชิกวิสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภาก็ได้
วิธีการจดทะเบียน
การจดทะเบียนแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน คือ (1) จัดทำคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัทและเอกสารประกอบการจดทะเบียนยื่นต่อนายทะเบียน เพื่อให้ ตรวจพิจารณา ภายในสามเดือนนับแต่วันประชุมตั้งบริษัท (2) แก้ไขข้อบกพร่องในคำขอตามคำสั่งของนายทะเบียนให้ถูกต้องครบถ้วน (3) รับใบสั่งชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน (4) ชำระค่าธรรมเนียมตามใบสั่งของเจ้าหน้าที (5) ถ้าประสงค์จะได้หนังสือรับรองรายการในทะเบียน และ/หรือสำเนาเอกสาร ให้ยื่นคำขอและ ชำระค่าธรรมเนียมต่อเจ้าหน้าที่ (6) รับใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน/หนังสือรับรองรายการในทะเบียน/สำเนาเอกสาร
ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนตั้งบริษัทนี้ ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตรา ตามอัตราเหมาซึ่ง สำนักงานได้กำหนด ดูรายละเอียดใน ค่าบริการจดทะเบียน
หน้าที่ของบริษัท
(1) บริษัทจำกัด ต้องทำบัญชีงบดุลอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือน โดยมีผู้สอบบัญชี อย่างน้อยหนึ่งคนตรวจสอบ แล้วนำเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น อนุมัติงบดุลภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีพร้อมทั้งนำงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนยื่นต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมทะเบียน การค้า หรือที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัด ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันอนุมัติงบดุลทั้งนี้รวมถึงบริษัทที่แม้ว่าจะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม จะต้องดำเนินการนำส่งงบดุลด้วย มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท (2) จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นและให้นำส่งต่อสำนักงาน ทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร หรือที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดแล้วแต่กรณี ภายใน 14 วัน นับจากวันที่ประชุม
| |
ตัวอย่างการจดทะเบียนหจก.
รูปแบบธุรกิจ
- ประเภทของห้างหุ้นส่วน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แบ่งห้างหุ้นส่วนออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) ห้างหุ้นส่วนสามัญ (2) ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ห้างหุ้นส่วนสามัญ
คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียว โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนสามัญ จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นห้างหุ้นส่วนสามัญจึงแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ (1) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน ซึ่งไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย (2) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล"
ห้างหุ้นส่วนจำกัด
คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 จำพวก ดังนี้คือ (1) หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น (2) หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ได้แก่ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
- การดำเนินการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
เมื่อมีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงใจที่จะเข้าร่วมลงทุนประกอบกิจการเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประเภทใดประเภทหนึ่งดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากบรรดาผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจะต้องเป็นผู้มีหน้าที่ดำเนินการขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ กรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด กฎหมายกำหนดให้ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จะเป็นได้เฉพาะแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น
- การดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหรือเลิกและชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้นได้ตกลงที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรายการใด ๆ ที่ได้จดทะเบียนไว้ เป็นอย่างอื่น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนประสงค์จะเลิกกิจการ ก็จะต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการนั้น ๆ หรือจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชี ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ การจดทะเบียนจัดตั้งและแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องดำเนินการตามวิธีและหลักเกณฑ์ที่กฎหมายและระเบียบของทางราชการได้กำหนดไว้
- รายการจดทะเบียนที่ห้างหุ้นส่วนจะต้องจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม
(1) ชื่อห้างหุ้นส่วน (2) ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสำนักงานสาขา (3) วัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน (4) ผู้เป็นหุ้นส่วน (5) หุ้นส่วนผู้จัดการ (6) ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ (7) ตราสำคัญของห้างหุ้นส่วน (8) รายการอื่น ๆ ที่เห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ (9) ควบห้างหุ้นส่วน
- วิธีการจดทะเบียน มีขั้นตอนดังนี้
(1) ในกรณีจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อห้าง ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ ขอตรวจและจองชื่อห้างหุ้นส่วนเสียก่อนว่า ชื่อที่จะใช้นั้นจะซ้ำหรือคล้ายกับคนอื่นที่จดทะเบียนไว้ก่อนหรือไม่ เมื่อจองชื่อได้แล้วจะต้องขอจดทะเบียนภายใน 30 วัน (2) ซื้อคำขอและแบบพิมพ์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจทั้ง 7 แห่ง หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด (3) จัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบคำขอยื่นต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจพิจารณา (4) ชำระค่าธรรมเนียมตามใบสั่งของเจ้าหน้าที่ (5) ถ้าประสงค์จะได้หนังสือรับรองรายการในทะเบียน ให้ยื่นคำขอและชำระค่าธรรมเนียมต่อเจ้าหน้าที่ (6) รับใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนและหนังสือรับรองรายการในทะเบียนได้
- การลงลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการ
(1) ผู้เป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบคำขอด้วยตนเอง จะมอบหมายบุคคลอื่นลงลายมือชื่อแทนไม่ได้ (2) หุ้นส่วนผู้จัดการผู้ขอจดทะเบียนซึ่งต้องลงชื่อในคำขอจดทะเบียน จะต้องลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนพร้อมแสดงต้นฉบับบัตรประจำตัว หรือ (3) ในกรณีที่หุ้นส่วนผู้จัดการไม่สามารถลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนตาม (2) ให้หุ้นส่วนผู้จัดการลงลายมือชื่อต่อหน้าสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา หรือทนายความก็ได้
- สถานที่รับจดทะเบียน
1. สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร สามารถยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1-7 และส่วนจดทะเบียนกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถนนนนทบุรี 1 จังหวัดนนทบุรี หรือทางอินเตอร์เน็ตเว็บไซต์ www.dbd.go.th 2. สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตภูมิกาค สามารถยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนั้นๆ ยกเว้น จังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี สามารถขอจดทะเบียนได้ทางอินเตอร์เน็ตเว็บไซต์ www.dbd.go.th อีกทางหนึ่ง
- หน้าที่ของห้างหุ้นส่วน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มีหน้าที่ ต้องจัดทำงบการเงินประจำปี ยื่นต่อสำนักบริหารข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือสำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด แล้วแต่กรณี ภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดรอบปีบัญชี แม้ว่าจะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
- กิจการที่กฎหมายกำหนดระยะเวลาในการยื่นจดทะเบียน
(1) คำขอจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกกัน (2) คำขอจดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่ วันที่ได้เปลี่ยนตัว (3) คำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติ หรือวันที่ที่ศาลได้มีคำพิพากษา (4) คำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติ (5) การยื่นรายงานการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน ต้องยื่นทุกระยะ 3 เดือนครั้งหนึ่งนั้น ผู้ชำระบัญชีจะต้องยื่นรายงานการชำระบัญชี ภายใน 14 วัน นับแต่วันครบกำหนด 3 เดือน
การจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล/ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- ยื่นแบบขอจองชื่อห้างหุ้นส่วนเพื่อตรวจสอบไม่ให้ซ้ำกับห้างหุ้นส่วนบริษัทอื่น
- กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อของห้างหุ้นส่วน กิจการที่จะทำ สานที่ตั้งห้าง ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ สิ่งที่นำมาลงทุน ลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ชื่อหุ้นส่วนผุ้จัดการ ข้อจำกัดอำนาจหุ้น ส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี) พร้อมกับ ประทับตราสำคัญของห้างในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนจัดตั้ง และให้ หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียน (ปกติการยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล /ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียน หุ้นส่วนบริษัท ในกรณีหุ้นส่วนผู้จัดการไม่ประสงค์จะไปลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนก็สามาร จะลงลายมือชื่อต่อหน้าสามัญหรือวิสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา เพื่อเป็นการรับรองลายมือชื่อ ของตนได้ในอีกทางหนึ่ง) หรือหุ้นส่วนผู้จัดการจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปยื่นจดทะเบียนแทนก็ได้
- เสียค่าธรรมเนียมโดยนับจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วนกล่าวคือ ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่เกิน 3 คน เสีย ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท กรณีเกิน 3 คน จะเสียค่าธรรมเนียมหุ้นส่วนที่เกินเพิ่มอีกคนละ 200 บาท
- เมื่อจดทะเบียนจัดตั้งแล้วจะได้รับหนังสือรับรองและใบสำคัญเป็นหลักฐาน
|
ติดต่อเราจะติดต่อกลับเร็วที่สุด