ตามพรบ การบัญชี 2547 กำหนดให้นิติบุคคลประเภท บริษัท ห้างหุ้นส่วน ต้องมีนักบัญชี ซึ่งมีคุณสมบัติ ตามที่กำหนดไว้ใน พรบ.เรามี นักบัญชี ที่มีประสบการณ์และมีคุณสมบัติไว้บริการท่าน
รูปแบบของการให้บริการของเรา แบ่งได้ 3 ประเภทดังนี้
1. ให้บริการทำบัญชีที่สำนักงาน
การรับเอกสาร และข้อมูลของลูกค้า มาทำในสำนักงาน (เหมาะสำหรับกิจการเล็ก ๆ)ซึ่งไม่มีพนักงานบัญชี หรือมีพนักงานบัญชีแต่ขาดประสบการไม่สามารถปิดบัญชีได้
2. ส่งพนักงานเข้าไปให้บริการยังสำนักงานของท่าน
การส่งพนักงานเข้าไปทำงานยังสำนักงานของท่าน ตามกำหนดเวลา โดยเอกสารและข้อมูลทุกอย่าง อยู่ ณ ที่ทำการของท่าน วิธีนี้เหมาะสำหรับกิจการที่มีความพร้อมพอสมควร
3. ให้คำปรึกษาแนะนำในด้านการบัญชี
โดยพนักงานการส่งพนักงานซึ่งมีประสบการณ์สูง เข้าไปให้คำแนะนำ และให้คำปรึกษาแก่ เจ้าของกิจการ พนักงานบัญชี หรืออาจช่วยกำกับนโยบายทางการบัญชีให้ ในระดับหนึ่งด้วย
ลูกค้าของเราคือ
1. นิติบุคคลทุกประเภท ได้แก่ บริษัท ห้างหุ้นส่วน มูลนิธิ สมาคม ฯลฯ
2. บุคคลธรรมดาที่ประกอบกิจการร้านค้า และกิจการทั่วไป
อยากทราบค่าบริการ Click ที่นี่
รายละเอียดการจัดทำบัญชีท่านหาอ่านได้ตามรายการข่างล่างนี้
ความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีตามพรบและหน้าที่และความรับผิดชอบตามพรบ.
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีคือใคร
----------ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือ ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
ประกอบด้วย
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี |
ผู้รับผิดชอบ |
1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
2. บริษัทจำกัด
3. บริษัทมหาชนจำกัด
4.นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
5. กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
6. สถานที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำ ซึ่งต้องเข้าเงื่อนไข 3 ข้อ ดังนี้
------1. มีสถานที่ประกอบกิจการเป็นประจำ
------2. มีพนักงานประจำ
------3. มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการที่ก่อให้เกิดรายได้
7. บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิต
ผู้จำหน่าย ผู้มีไว้เพื่อจำหน่ายผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักร
ซึ่งสินค้าประเภทแถบเสียงเพลง แถบวีดิทัศน์ และแผ่นซีดี |
- หุ้นส่วนผู้จัดการ
- กรรมการ
- กรรมการ
-บุคคลที่รับผิดชอบการดำเนินการในประเทศไทย
- บุคคลที่รับผิดชอบในการดำเนินการของกิจการ
- ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจ
- เจ้าของหรือผู้จัดการ
|
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
---------1. จัดให้มีผู้ทำบัญชี ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้ากำหนด
---------2. ควบคุมดูแล ผู้ทำบัญชี ให้จัดทำบัญชีให้ถูกต้องตามกฎหมายและตรงต่อความเป็นจริง
---------3. จัดให้มีการทำบัญชีนับตั้งแต่วันเริ่มทำบัญชี โดยต้องจัดทำให้ครบถ้วนถูกต้อง ตามที่กำหนด
ในประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
---------4. จัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชี ซึ่งได้แก่ บันทึก หนังสือหรือเอกสารใด ๆ ที่ใช้เป็น
หลักฐานในการลงรายการในบัญชี
---------5. ต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ผู้ทำบัญชี ให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นตรงตามความเป็นจริง และตามมาตรฐานการบัญชี
---------6. ต้องปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน เว้นแต่
------------6.1 รอบปีบัญชีแรกอาจปิดบัญชีไม่ครบ 12 เดือน ก็ได้
------------6.2 รอบปีบัญชีที่ได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือ สารวัตรบัญชีให้เปลี่ยนรอบปี
บัญชี จะไม่ครบ 12 เดือน ก็ได้
---------7. ต้องจัดทำงบการเงิน โดยมีรายการย่อตามที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้าประกาศกำหนด
---------8. ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
เว้นแต่ งบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีทุนไม่เกินห้าล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท
และรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดง
ความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ให้ใช้บังคับสำหรับการจัดทำงบการเงิน ซึ่งมีรอบปีบัญชีที่สิ้นสุดลง
ในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2545 เป็นต้นไป
---------9. ต้องยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ภายในระยะเวลา
ที่กำหนด ดังนี้
------------9.1 ภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีสำหรับนิติบุคคลหรือธุรกิจประเภท
----------------(1) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
----------------(2) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
----------------(3) กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
------------9.2 ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่งบการเงินของนิติบุคคลต่อไปนี้ได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่
----------------(1) บริษัทจำกัด
----------------(2) บริษัทมหาชนจำกัด
---------10. ต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้
---------11. กรณีนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
บุคคลธรรมดาซึ่งมีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีเมื่อเลิกประกอบธุรกิจ ต้องส่งมอบบัญชีและเอกสารประกอบการ
ลงบัญชีแก่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีภายใน 90 วัน นับแต่วันเลิกประกอบธุรกิจ
ผู้ทำบัญชี และหน้าที่และความรับผิดชอบ
---------ผู้ทำบัญชี คือ ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ไม่ว่าจะได้กระทำในฐานะเป็น
ลูกจ้างของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือไม่ก็ตาม
ผู้ทำบัญชีได้แก่บุคคลต่อไปนี้
---------1. กรณีเป็นพนักงานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ได้แก่
------------- ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี
------------- สมุห์บัญชี
------------- หัวหน้าแผนกบัญชี
------------- ผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่ง
ดังกล่าว
---------2. กรณีเป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชี คือ
------------- หัวหน้าสำนักงานกรณีที่เป็นสำนักงานที่มิได้จัดตั้งในรูปคณะบุคคล
------------- ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี กรณีเป็นสำนักงานที่จัดตั้งในรูป
คณะบุคคล
------------- กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี กรณีที่เป็นสำนักงาน
ที่จัดตั้งในรูปนิติบุคคล
---------3. บุคคลธรรมดา ที่ประกอบวิชาชีพรับจ้างทำบัญชีอิสระ กรณีเป็นผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ
---------4. ผู้ช่วยผู้ทำบัญชี กรณีที่ "ผู้ทำบัญชี" รับทำบัญชีเกินกว่า 100 ราย
---------5. บุคคลอื่นนอกจากที่ระบุตาม 1.1-1.4 ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่
จัดทำบัญชี
คุณสมบัติของผู้ทำบัญชี
---------1. มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
---------2. มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้
---------3. ไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายบัญชี กฎหมายผู้สอบบัญชี เว้นแต่พ้นโทษ
มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
---------4. มีคุณวุฒิการศึกษาตามขนาดธุรกิจในแต่ละกลุ่ม ดังนี้
------------(1) กลุ่ม 1 ผู้ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตาม
กฎหมายไทย ณ วันปิดบัญชีในรอบปีที่ผ่านมา มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน
30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตร
วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี หรือเทียบเท่า ทั้งนี้ กรณีที่ทุนจดทะเบียน สินทรัพย์รวม หรือรายได้
รวมของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเปลี่ยนแปลงไปจนทำให้ผู้ทำบัญชีไม่มีคุณสมบัติ ให้ผู้ทำบัญชีสามารถเป็น
ผู้ทำบัญชีของกิจการนั้นต่อไปได้เป็นเวลา 2 ปี นับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชีที่มีการเปลี่ยนแปลง
------------(2) กลุ่ม 2 ผู้ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัดที่มีทุนจดทะเบียน
สินทรัพย์รวม หรือรายได้รวม รายการใดรายการหนึ่ง เกินกว่าที่กำหนดในกลุ่ม 1 บริษัทมหาชนจำกัด
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
กิจการร่วมค้า ตามประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร เงินทุน/หลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์
ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย และผู้ประกอบธุรกิจซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุน ตามกฎหมายว่าด้วย
การส่งเสริมการลงทุน ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือเทียบเท่า
เงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี
---------ผู้ทำบัญชีจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้
---------1. แจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี พร้อมด้วยหลักฐานตามที่กำหนดต่ออธิบดี
ตามแบบ ส.บช. 5 และ ส.บช.5-1 ภายใน 60 วัน นับจาก
------------(1) วันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ (10 สิงหาคม 2544) กรณีทำบัญชีอยู่แล้ว
------------(2) วันเริ่มทำบัญชี
------------(3) วันที่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
---------2. เข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีอย่างน้อย 1 ครั้ง ในทุก ๆ รอบสามปี
---------3. ต้องรับทำบัญชีไม่เกินปีละ 100 ราย หากเกินจะต้องมีผู้ช่วยที่มีคุณวุฒิเช่นเดียวกับ
ผู้ทำบัญชีอย่างน้อย 1 คน ในทุก ๆ 100 ราย ที่เกิน 100 รายแรก เศษของ 100 ถ้าเกินกว่า 50 ให้นับ
เป็น 100
หน้าที่ของผู้ทำบัญชี
---------1. จัดทำบัญชีเพื่อให้แสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะ
การเงินของ "ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี" ที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริง และตามมาตรฐานการบัญชีโดยมีเอกสาร
ที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน
---------2. ลงรายการบัญชีเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับ
หรือลงรายการเป็นรหัสบัญชีให้มีคู่มือคำแปรรหัสบัญชีที่เป็นภาษาไทยไว้
---------3. เขียนด้วยหมึก ดีดพิมพ์ หรือตีพิมพ์ หรือทำด้วยวิธีอื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน
บัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
การจัดทำบัญชี
----------เมื่อเริ่มต้นประกอบธุรกิจ สิ่งหนึ่งที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องพิจารณาไปพร้อม ๆ
กับการวางแผนการดำเนินธุรกิจ คือ การเตรียมการในเรื่องการจัดทำบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบ
การลงบัญชี เพื่อจะได้จัดทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย
----------1. กรณีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเป็นบุคคลธรรมดา หรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียน
จะต้องพิจารณาว่าประกอบธุรกิจอะไร หากประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้มีไว้เพื่อจำหน่าย ผู้นำ
เข้ามาในราชอาณาจักร หรือผู้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งสินค้าประเภทแถบเสียบเพลง แถบวีดิทัศน์
และแผ่นซีดี มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีสินค้า นับแต่วันเริ่มต้นประกอบธุรกิจ เป็นต้นไป แต่หากประกอบ
ธุรกิจประเภทอื่น ๆ ขณะนี้ยังไม่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
จนกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะออกประกาศกำหนดเพิ่มเติมว่าการประกอบธุรกิจประเภทใด
มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี
----------2. กรณีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจใน ประเทศไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ให้ครบถ้วน ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
-------------(1) บัญชีรายวัน
-----------------(ก) บัญชีเงินสด
-----------------(ข) บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร
-----------------(ค) บัญชีรายวันซื้อ
-----------------(ง) บัญชีรายวันขาย
-----------------(จ) บัญชีรายวันทั่วไป
-------------(2) บัญชีแยกประเภท
-----------------(ก) บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน
-----------------(ข) บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย
-----------------(ค) บัญชีแยกประเภทลูกหนี้
-----------------(ง) บัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้
-------------(3) บัญชีสินค้า
-------------(4) บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภทอื่น และบัญชีแยกประเภทย่อยตามความจำเป็น
แก่การทำบัญชีของธุรกิจ
----------ทั้งนี้ ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำดังกล่าวข้างต้น ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างจากที่ได้กำหนดไว้
ตามกฎหมายบัญชีเดิมหรือประกาศคณะปฏิบัติ ฉบับที่ 285 ยกเว้นแต่ในเรื่องของการกำหนดให้จัดทำ
"บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร" ซึ่งเป็นการกำหนดขึ้นใหม่ เพื่อให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
ปฏิบัติให้ถูกต้อง หากมีการเปิดบัญชีธนาคารในนามของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี เช่น บริษัท ก, ห้างหุ้นส่วน
จำกัด ข ธุรกิจก็ต้องจัดทำบัญชีธนาคาร โดยแยกเป็นแต่ละเลขบัญชีธนาคารที่เปิดบัญชีไว้ให้ครบถ้วน
ถูกต้องด้วย จะบันทึกบัญชีธนาคารโดยนำทุกบัญชีธนาคารที่เปิดใช้มาลงรวมกันเป็นบัญชีเดียวไม่ได้
เอกสารที่ใช้ประกอบการลงบัญชี
----------ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีหน้าที่ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ให้ผู้ทำบัญชี
ให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้น แสดงผลตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี ทั้งนี้
เอกสารประกอบการลงบัญชี แยกได้เป็น 3 ประเภท คือ
----------1. เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้น โดยบุคคลภายนอก
----------2. เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้น โดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี เพื่อออก
ให้แก่บุคคลภายนอก
----------3. เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้น โดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี เพื่อใช้ใน
กิจการของตนเอง
----------เอกสารประกอบการลงบัญชีทุกประเภท จะต้องมีรายการตามที่กำหนดในหมวด 4
แห่งประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำฯ พ.ศ. 2544 ซึ่งรายการที่
กำหนดจะมีลักษณะคล้ายกับรายการที่กำหนดตามประกาศกรมทะเบียนการค้า ฉบับที่ 17 (พ.ศ.2534)
เรื่อง กำหนดเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว แต่มีบางรายการที่แตกต่างไป คือ
ชนิดเอกสาร |
(ใหม่) ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำฯ พ.ศ. 2544 |
(เดิม) ประกาศกรมทะเบียนการค้า ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2534)
|
1. ใบเสร็จรับเงิน
2. ใบกำกับสินค้าหรือใบส่งของ
3. เอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในกิจการ
|
- ลายมือชื่อของผู้รับเงิน หรือตั๋วเงิน เว้นแต่เป็นเอกสารที่จัดทำและส่งมอบ ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมือ อื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน
- ลายมือชื่อผู้จัดทำเอกสาร
- วิธีการและการคำนวณต่าง ๆ (ถ้ามี)
|
- ลายมือชื่อของผู้รับเงินหรือตั๋วเงิน
-
-
|