ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อกับเรา

dot
dot
หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
dot
bulletกระทรวงพาณิชย์
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมศุลกากร
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletกระทรวงการคลัง
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletตลาดหลักทรัพย์
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพสามิต
dot
ข่าวสารรายวัน(หนังสือพิมพ์)
dot
bulletหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ
bulletหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์
bulletหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
bulletหนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ
bulletหนังสือพิมพ์ ฐานเศรฐกิจ
bulletหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
bulletสำนักข่าวไทย
dot
ความสุนทรทางบันเทิง
dot
bulletฟังวิทยุ online
bulletดูทีวี online
bulletเช็ครอบหนัง
dot
ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับนักบัญชี
dot
bulletแจ้งเพิ่ม/เลิกการทำบัญชี
bulletตรวจค้นข้อมูลของผู้ทำบัญชี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
bulletแบบฟอร์มทางบัญชี
bulletตรวจเช็คผู้ประกอบการ VAT
bulletขอเลขผู้เสียภาษี online
bulletตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ online
bulletจดทะเบียนมูลค่าเพิ่ม online
bulletจองชื่อนิติบุคคล
dot
จิปาถะ
dot
bulletค้นหาเบอร์โทรศัพท์ทั่วไทย
bulletรหัสไปรษณีทั่วไทย
bulletคำนวณระยะทางก่อนเที่ยว
bulletตารางเวลาเดินรถไฟ
bulletพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
bulletติดตามการนำส่งไปรษณีย์
bulletดูดวงชะตา พยากรณ์
dot
เช็คอีเมล
dot
bulletHotmail
bulletแปลภาษา
dot
ห้องสมุดนักบัญชี
dot
bulletมาตรฐานการสอบบัญชี
bulletมาตรฐานการบัญชี IFRS
bulletประมวลรัษฏากร - online
bulletกฏหมายออกใหม่
bulletหลักสูตรอบรมของสมาคม
bulletพิมพ์แบบ สบช 3




เรื่องน่าสนใจ เดือนนี้ article

 

กำหนดหลักประกันความรับผิดต่อบุคลที่สามของสำนักงานบัญชี

 ข้อดีของมาตรฐานหลักประกัน
-เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พรบ. วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547
-สร้างความมั่นใจให้แก่บุคคลภายนอกที่มาใช้บริการ
-ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังมากขึ้น
-หากจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลโดยมีทุนจดทะเบียนต่ำ เมื่อมีกรณีฟ้องห้องขึ้น ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีอาจขอให้ศาลยึดทรัพย์ของนิติบุคคลก่อน ซึ่งหากไม่มีหลักประกันจะทำให้ผู้เสียหายได้เงินชดใช้ด้วย

และที่สำคัญผู้ใช้บริการของถูก ก็ได้พึงระมัดระวัง

 

มีเนื้อหาดังนี้ครับท่าน 

กฎกระทรวง
กำหนดหลักประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สามของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
พ.ศ. ๒๕๕๓


               อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ (๑) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

                ข้อ ๑ในกฎกระทรวงนี้
               “ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี” หมายความว่า นิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการด้านการสอบบัญชีหรือด้านการทำบัญชี หรือให้บริการวิชาชีพบัญชีด้านอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๙
               “ทุน” หมายความว่า ทุนจดทะเบียนของบริษัทจำกัด ทุนชำระแล้วของบริษัท มหาชนจำกัด ส่วนลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือเงินที่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือสมาชิกนำมาลงหุ้นในนิติบุคคลอื่น
               “รายได้” หมายความว่า รายได้ที่เกิดจากการประกอบกิจการให้บริการ ด้านการสอบบัญชีหรือด้านการทำบัญชี หรือให้บริการวิชาชีพบัญชีด้านอื่นตามที่กำหนด โดยพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๙
               “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น

                ข้อ ๒ ในวันที่ยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สามประเภทหนึ่งประเภทใด รวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสามของทุน ณ วันที่ยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี และแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกันมาพร้อมกับการยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี
                การเพิ่มทุนหรือลดทุนของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในระหว่างรอบปีบัญชี ไม่กระทบต่อจำนวนหลักประกันที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีได้จัดให้มีแล้วในรอบปีบัญชีนั้น

                ข้อ ๓ ประเภทของหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม ได้แก่
                (๑) เงินฝากสถาบันการเงินในประเทศประเภทฝากประจำตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป
                (๒) บัตรเงินฝากซึ่งสถาบันการเงินในประเทศออกให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเพื่อเป็นหลักฐานการฝากเงินของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีนั้น
                (๓) พันธบัตรรัฐบาลไทยที่จำหน่ายในราชอาณาจักร
                (๔) พันธบัตรองค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลซึ่งมีพระราชบัญญัติหรือ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
                (๕) กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
                หลักประกันตามวรรคหนึ่งต้องปราศจากภาระผูกพัน

                ข้อ ๔  จำนวนของหลักประกันตามข้อ ๓ (๒) (๓) และ (๔) ให้ถือตามจำนวนเงิน ที่ปรากฏในตราสารนั้น ส่วนหลักประกันตามข้อ ๓ (๕) ให้ถือตามจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย

                ข้อ ๕ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต้องดำรงหลักประกันเพื่อประกันความรับผิด ต่อบุคคลที่สามตลอดระยะเวลาที่ประกอบกิจการ

                ข้อ ๖ ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชีทุกปี ให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี จัดให้มีหลักประกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสามของทุน ณ วันสิ้นรอบปีบัญชีที่ผ่านมา หรือของรายได้รอบปีบัญชีที่ผ่านมา แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า และแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกันต่อสภาวิชาชีพบัญชี
                ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงประเภทของหลักประกันในระหว่างรอบปีบัญชี ให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีแจ้งต่อสภาวิชาชีพบัญชีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

                ข้อ ๗ การแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกันหรือการเปลี่ยนแปลงประเภทของหลักประกันตามกฎกระทรวงนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่นายกสภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนด

                ข้อ ๘ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่จดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชีอยู่แล้วก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ ต้องจัดให้มีหลักประกันประเภทหนึ่งประเภทใดรวมกันเป็นจำนวน ไม่น้อยกว่าร้อยละสามของทุน ณ วันสิ้นรอบปีบัญชีที่ผ่านมา หรือของรายได้รอบปีบัญชีที่ผ่านมา แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า และแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกันต่อสภาวิชาชีพบัญชี ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ 
                ในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีตามวรรคหนึ่งประกอบกิจการไม่ถึงหนึ่งรอบปีบัญชี ต้องจัดให้มีหลักประกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสามของทุน ณ วันที่แจ้งต่อสภาวิชาชีพบัญชี       

ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
พรทิวา นาคาศัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์


หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๑ (๑) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ บัญญัติ ให้นิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการด้านการสอบบัญชีหรือด้านการทำบัญชี หรือให้บริการวิชาชีพบัญชีด้านอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๙ ต้องจัดให้มีหลักประกัน เพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สามตามประเภท จำนวน หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนด ในกฎกระทรวง  จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

  




ข่าวสารแวดวงบัญชี และ ภาษีอากร




Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงาน เค ที วาย คอร์ปอเรชั่น จำกัด 128,130 ซอยรามคำแหง 60/4 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กทม. โทร 02-7356400-1 โทรสาร 02-735-4100 Email : Komtorn@hotmail.com